Header Ads Widget

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ พรบ.รถยนต์ พ.ร.บ. รถยนต์ คืออะไร และการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ต้องใช้อะไรบ้าง


พ.ร.บ. รถยนต์ คืออะไร และการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ต้องใช้อะไรบ้าง

คำว่า "พ.ร.บ." คงเป็นคำที่หลายๆคนเคยได้ยินหรือรู้จักกันมาบ้าง แต่คงไม่ใช่ทุกคนที่เข้าใจว่า "พ.ร.บ." มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับชีวิตเราได้อย่างไร วันนี้เรามีคำตอบมาให้ทุกคนได้รู้จักกันมากขึ้น

"พ.ร.บ." ที่เรามักจะได้ยินเมื่อทำประกันภัยรถยนต์ หมายถึง พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดให้รถยนต์ทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมขนส่งทางบกต้องจัดให้มีประกันภัยอย่างน้อยที่สุด คือ การทำประกันภัยภายใต้ข้อบังคับของพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือที่เรียกกันว่า ประกันภัย พ.ร.บ.รถยนต์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความคุ้มครองแก่บุคคลผู้ประสบอุบัติเหตุจากการใช้รถได้อย่างทันท่วงที โดยไม่คำนึงถึงว่าบุคคลที่ประสบอุบัติเหตุดังกล่าวเป็นผู้กระทำผิดหรือไม่

พรบ รถยนต์คุ้มครองอะไรบ้าง ?

คุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้น

ผู้ประสบภัย ไม่ว่าจะเป็น ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือคนเดินเท้า จะได้รับความคุ้มครอง เป็นค่ารักษาพยาบาลในกรณีบาดเจ็บ และค่าปลงศพในกรณีเสียชีวิต โดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด ซึ่งบริษัทประกันจะชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัย หรือทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัย ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่บริษัทได้รับคำร้องขอ เป็นจำนวนเงินดังนี้

  • ค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท/คน
  • กรณีผู้ประสบภัยสูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิต จะได้รับค่าชดเชยจำนวน 35,000 บาท/คน
  • กรณีผู้ประสบภัยได้รับบาดเจ็บ และต่อมาได้สูญเสียอวัยวะ จะได้รับค่าชดเชยรวมกันแล้วไม่เกิน 65,000 บาท/คน
  • กรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิตหลังจากเข้ารักษาพยาบาล จะได้รับค่าชดเชยไม่เกิน 65,000 บาท/คน
  • คุ้มครองค่าสินไหมทดแทน
  • เป็นค่าเสียหายที่นอกเหนือจากค่าเสียหายเบื้องต้น โดยบริษัทประกันจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน ในกรณีผู้ประสบภัยได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นฝ่ายถูก จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเป็นจำนวนเงินดังนี้
  • ค่ารักษาพยาบาลและค่าเสียหายอย่างอื่นที่ผู้ประสบภัย สามารถเรียกร้องได้ไม่เกิน 80,000 บาท/คน
  • สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร บริษัทประกันจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน 200,000 - 500,000 บาท/คน
  • กรณีเสียชีวิต บริษัทประกันจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 500,000 บาท/คน
  • ในกรณีที่เข้ารับการรักษา ณ สถานพยาบาลในฐานะผู้ป่วยใน บริษัทจะจ่ายค่าชดเชยรายวัน วันละ 200 บาท จำนวนรวมกันไม่เกิน 20 วัน

ไม่ทำประกันพ.ร.บ. ได้ไหม

การทำประกันภัย พรบ คือ การประกันภัยภาคบังคับ ซึ่งเป็นหน้าที่ของเจ้าของรถทุกคันจะต้องทำ หากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับ สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท และทำให้คุณไม่สามารถเสียภาษีรถยนต์ได้ ส่งผลให้ป้ายทะเบียนขาดต่ออายุร่วมด้วย

วิธีติดป้าย พรบ รถยนต์

ผู้ขับขี่บางคนยังเข้าใจผิด และมักค้นหาการติดพรบหน้ารถ หรือ ที่ติดพรบหน้ารถ แท้จริงแล้วป้ายพรบ ไม่ต้องติดหน้ารถ แต่เป็นป้ายภาษีรถ หรือเรียกอีกอย่างว่าป้ายวงกลมต่างหากที่ต้องติด ซึ่งเป็นเอกสารที่ออกโดยกรมขนส่งทางบก จะได้รับหลังจากต่อพรบ พร้อมชำระภาษีรถประจำปีเรียบร้อยแล้ว และผู้ขับขี่จำเป็นต้องแสดงป้ายภาษีโดยแปะไว้หน้ากระจกรถ ไม่เช่นนั้นจะถือว่ามีความผิด และมีโทษปรับ

ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ ปี พ.ศ.2522 ตามมาตรา 11 ระบุไว้ว่า “เครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีให้ติดที่ด้านในของกระจกกันลมด้านหน้ารถ โดยหันข้อความด้านหน้าของเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีออกด้านนอกรถ เว้นแต่รถจักรยานยนต์ รถพ่วง รถบดถนน รถแทรกเตอร์ รถใช้งานเกษตรกรรม และรถอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงให้ติดในที่ที่สามารถมองเห็น ข้อความด้านหน้าของเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีได้ชัดเจน บทกำหนดโทษตาม มาตรา 60 อัตรา โทษปรับไม่ควรต่ำกว่า 200 บาท แต่ไม่เกิน 2,000 บาท”

พรบ รถยนต์ คุ้มครองรถหายไหม

ประกัน พรบ ให้ความคุ้มครองเฉพาะความเสียหายต่อบุคคลที่ประสบเหตุเท่านั้น ไม่ได้คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์หรือกรณีรถของผู้เอาประกันสูญหาย แต่ผู้เอาประกันสามารถซื้อประกันภาคสมัครใจเพิ่ม โดยสามารถคลิกดูรายละเอียด ประกันรถชั้น 1 ที่ให้ความคุ้มครองรถหาย หรือ ประกันรถชั้น 2+ ที่คุ้มครองรถหายสูงถึง 2 เท่า* สามารถดูรายละเอียดของ ประกันรถชั้น 2, 3+ และ 3 สำหรับความคุ้มครองที่อยู่นอกเหนือประกัน พรบ

พรบ รถยนต์หมดอายุ ต้องทำอย่างไร

อายุของพรบ รถยนต์

ความคุ้มครองของพรบ รถยนต์ มีอายุ 1 ปี และจะต้องต่อพรบ เมื่อหมดอายุ ไม่เช่นนั้นอาจถูกปรับไม่เกิน 10,000 บาท ซึ่งพรบ รถจะไม่สามารถซื้อย้อนหลังได้ แต่สามารถซื้อความคุ้มครองล่วงหน้าได้ไม่เกิน 90 วัน

กรณีพรบ หมดอายุเป็นเวลานาน

เมื่อพรบ ขาดต่อเป็นเวลานาน 3 ปี จะส่งผลให้เลขทะเบียนรถคุณถูกระงับด้วย คุณจะต้องไปจดทะเบียนรถใหม่ที่กรมขนส่งทางบก อีกทั้งต้องยื่นชำระภาษีรถคงค้างย้อนหลังด้วยค่าปรับในอัตรา 1% ต่อปี จึงจะสามารถขับรถได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ต่อ พรบ รถยนต์ ใช้อะไรบ้าง

ผู้เอาประกันสามารถเข้าไปติดต่อกรมขนส่งทางบกของแต่ละจังหวัดเพื่อยื่นเอกสารต่อประกันพรบ ได้ โดยเอกสารที่ควรเตรียมให้พร้อม มีดังนี้

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาทะเบียนรถ หรือเล่มจริง

พรบ.รถยนต์คืออะไร ทำไมถึงต้องต่อพรบ.รถยนต์ คำถามเหล่านี้เกิดขึ้นมากมายสำหรับบรรดาผู้ที่พึ่งซื้อรถ แม้กระทั่งผู้ที่มีรถอยู่แล้ว บางรายอาจจะยังไม่เข้าใจหรือมีความเข้าใจผิดบางอย่างเกี่ยวกับพรบ.รถยนต์ ทั้ง ๆ ที่พรบ.รถยนต์นั้น มีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับทุกคนที่มีรถต้องมี เพราะเป็นประกันพรบ.รถยนต์รูปแบบหนึ่งที่ใช้ช่วยเหลือผู้ที่มีรถในกรณีเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันหรือเหตุการณ์ฉุกเฉินจากการใช้รถใช้ถนน

ดังนั้น https://carkeyubon.blogspot.com/ได้คัดสรรสาระความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับพรบ.รถยนต์เพื่อให้ผู้ที่มีรถยนต์ทั้งหลายได้ทำความเข้าใจและรู้จักคำว่า “พรบ.รถยนต์คืออะไร” ได้อย่างแท้จริง บทความโดย ช่างกุญแจอุบล รับทำกุญแจจังหวัดอุบลราชธานี ทั้งในแนะนอกสถานที่

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น